โอกาส-การเปลี่ยนแปลง-การปรับตัว-การมองการไกล-แบบwin win


2019-07-24 07:39

จำนวนครั้งที่อ่าน : 859

Smart&Digital City เป็น เรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทันที “ คิดดี ทำดี อย่ารีรอ” เมื่อตัดสินใจใช้ยุทธศาสตร์ smart&digital city จึงขอมีส่วนร่วม เสนอแนวคิด Green +Clean+ Safety นำ และชี้ชัดลงมือด้านท่องเที่ยว การค้าชายแดน อาหารท้องถิ่น เป็นยุทธวิธีสู่เป้าสำเร็จ “ แนวคิดบางเรื่อง อาจมีลักษณะ เส้นผม บังภูเขา และ ไม่จำเป็นต้องคิดจากสิ่งมีอยู่เดิม แต่สามารถคิดใหม่สร้างขึ้นใหม่ได้ด้วย”

เมื่อปี 2540 หอการค้า หาช่องทางโอกาสให้ กับ จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยแนวคิด อุบลต้องออกทะเลทางด้านเวียตนาม

และ ต้องมีการเชื่อมโยงค้าขายกับประเทศ เพื่อนบ้าน ( อินโดจีนตอนใต้ ลาว –เวียตนาม-กัมพูชา) จากวันที่ เริ่มคิดและลงมือสำรวจ ถึงปัจจุบัน เราได้โอกาส ทำได้จริงตามแนวคิด แต่ขาด การลงมือทำ จนทำให้ ดุ เหมือนช้ากว่า เพื่อนบ้าน หนึ่งก้าว และถูกแซงไป แต่ อย่างไรก็ตาม อุบลราชธานี ก็ ยังเป็นศูนย์กลางของอินโดจีนตอนได้ อยู่ดี เพียงแต่ เราต้องตื่น และลงมือทำ ด้วยกรอบแนวคิด การมองโอกาสจากผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ ที่มองฟันธงว่า อุบล ต้องมุ่งปรับปรุงและจริงจัง สามเรื่องที่จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น (เศรษฐกิจ) คือ การท่องเที่ยว-การค้าชายแดน-อาหารท้องถิ่น

ถ้าจะมอง เพื่อนบ้าน ในรอบ 20 ปี มีการพัฒนา ตามแนวทางที่ เราชาวอุบล ได้ คิดริเริ่มไว้ หลายเรือง จนกลายเป็นวลีติดปากในสภากาแฟว่า “ เราคิด เค้าทำ “ แต่ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพราะ เป็นการสร้างความเจริญในภูมิภาค ตามแนวทางที่เราวางไว้ ตัวอย่างที่ชี้ ให้ เห็น

เมื่อปี 2558 ท่านอดีตประธานหอการค้าอุบล ท่านชวลิต องควานิช ได้เสนอผลักดันให้ ช่องเม็ก และช่องสะงำเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะมองเห็น เป็นพื้นที่ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ลาว เวียตนาม กัมพูชา โดยที่ช่องเม็ก จะเป็นจุดเชื่อมโยง ขนถ่ายสินค้า ประตู เชื่อมทะเลจีนใต้ กับทะเลอันดามัน รวมทั้ง ช่องเม็ก (อุบล ) ช่องสะงำ (ศรีสะเกษ ) จะเป็นหัวใจสำคัญ ในแนวคิด วงกลมเศรษฐกิจ ที่ หอการค้าอุบล ได้ สำรวจ วางแนวเส้นทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยง ไทย –ลาว กัมพูชา และ เวียตนาม เข้าด้วยกัน ถึง เป็นเส้นทางเศรษฐกิจทางบกที่สำคัญยิ่ง ทำให้ อุบลราชธานี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า ของอินโดจีนตอนใต้ หลังจากปี 2558 มีการประกาศ เขตเศรษฐกิจในภาคอิสานหลายจังหวัด แต่ อุบลราชธานี ช่องเม็ก ไม่ได้รับการพิจารณา เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ในโอกาสทองที่ ต้อง เปลี่ยนแปลงไป เพราะ

เมื่อ ต้นเดือนกรกฏาคม 2562 ประเทศลาว ได้มีวางศิลากฤษ์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ของลาว ที่วังเต่า จำปากศักดิ์ ห่างจาก ช่องเม็ก ประมาณ 3กม ในเนื้อที่ กว่า 2000 ไร่ เงินลงทุน 250ล้าน US มีวัตถุประสงค์ จาก แนวความคิด เหมือนหรือ คล้ายหอการค้าคิดและนำเสนอ คือ เป็น จะเชื่อมโยง ระหว่างกันในอินโดจีนใต้ และ เชื่อมโยง ระหว่างทะเลจีนใต้ ที่ ดานัง และ อันดามัน ที่เมียนม่าร์ เมื่อ ดู โครงการแล้ว เห็นชัดว่า จะเริ่มทำเรื่องการขนถ่ายสินค้า (ท่าทางบก) โรงงานอุตสาหกรรม สรรพสินค้า โรงแรม ที่มุ่งการค้า การท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งจะทำให้จุดโอกาส ด้านนี้ ถูกเปลี่ยน จากฝั่งไทย ไปฝั่งประเทศลาว

แผนที่การก่อสร้างเริ่ม2562 การขนถ่ายสินค้า เนื้อที่ 2000 ไร่ ลงทุนประมาณ 250ล้าน US หรือ ประมาณ 7500ล้าน

ในเรื่องนี้ คงไม่มองเป็นการเสียโอกาสเพียงด้าเดียว แต่จะมองปรับเปลี่ยน เป็นจุดโอกาสแต่คนละรูปแบบ เพราะมีแนวนโยบายที่ทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยท่านสฤษดิ์ วิฑูลย์ ได้วางแนวคิด เรื่อง ช่องเม็ก แฮปปี้ วัลเล่ย์ เป็นการพัฒนา เมืองช่องเม็ก ประกอบกับ ประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว เวียตนาม) ยังคงมีความต้องการสินค้าจากไทย และ นิยมใช้การบริการหลายอย่างจากไทย เช่น การปฐมพยาบาล เป็นต้น รวมไปทั้งการซื้อหาสินค้า ของไทย ดังนั้นถ้าแปลโอกาส ตีโจทย์ ใหม่ให้ได้ชัดจะเห็นว่า ไทยไม่เสียโอกาส แต่ ได้โอกาสในรูปแบบอื่น คือ รายได้เพิ่ม จากผลของการพัฒนาของเพื่อนบ้านที่มีการลงทุน ( เพื่อนบ้านมีเศรษฐกิจดี มี่รายได้ นั่นหมายถึงมีกำลังซื้อ )

และผลของวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ได้มีการจัดเสวนา ให้มีการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และ ระดมความคิดทุกภาคส่วน เพื่อปรับเปลี่ยนการพัฒนา พื้นที่ช่องเม็กใหม่ และแนวทางการพัฒนาอุบลใหม่ โดยนำหลักการ เรื่อง smart city และ นำใช้digital มาเป็นแนวทาง ซึ่งข้อสรุปทุกคนเห็นตรงกัน ตามคำเสนอ ของภาควิชาการ ในกรอบแนวคิดใหม่ ผสมประสานกับศักยภาพเดิมของอุบล โดยเริ่มจาก กำหนด พื้นที่ smart city เป็นเรื่องแรก และ ออกแบบพัฒนาเมืองใหม่ และเมืองเก่า โดยให้เชื่อมโยงกัน ซึ่งข้อสรุป ชัดเจน ได้ เขตเมืองใหม่ คือ ช่องเม็ก โขงเจียม และสิรินธร ส่วนเมืองเก่า ก็ คือ ตัวเมืองอุบล มีการกำหนดเส้นทางเชื่อมโยง ผ่านอำเภอวารินชำราบ อำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งท่านผู้ว่าฯ ได้ให้ ความสำคัญ เป็นเรื่องสำคัญ คือ เร่งหาข้อสรุป ถือ เร่งด่วนที่ต้องตัดสินใจ.

ข้อสรุป จาก ฟังการเสวนา ที่ ผมจับประเด็นและคิดต่อยอด ได้ดังนี้ คือ

  1. ต้อง ประกาศ กำนหดพื้นที่ ที่จะผลักดันให้ เป็น smart city
  2. ต้อง สร้างความรับรู้ และ ความเข้าให้มีส่วนร่วม ( เรื่องจำเป็นมาก)
  3. การเป็น พื้นที่ smart city นั้น ต้อง ลงรายละเอียด ถึง ขอบเขต สิทธิพิเศษ/ข้อยกเว้นที่ จะได้รับ เพื่อการส่งเสริม( ถือ อยุ่ ในเขต) ซึ่งจะเป็นการเชิญชวนให้ ภาคเอกชน สนใจมาลงทุน
  4. ต้อง กำหนด กิจกรรม หรือ โครงการ ที่จะเกิดได้ทันที่ ทำให้ เกิดการตื่นตัว แล อยากได้ อยากให้เมือง ชุมชน เป็ เมือง smart &digital city
  5. ต้อง ชี้ชัดว่า รัฐ สนับสนุน จัดสรรงบประมาณเป็นกรณีพิเศษอย่างไร เพื่อสร้างความมันใจว่า โครงการนี้ จะเป็นจริง

ท้ายนี้ หอการค้าใช้เวลาค้นหาโอกาส สำรวจพิสูจน์ ความเป็นไปได้ มากว่า 20 ปี เพื่อนำเสนอ ดังนั้น จึงเวลาที่จะนำข้อมูลโอกาส มาแปลให้ เป็นรูปธรรม และ ขอสนับสนุนแนวคิด นำ smart &digital city มาเป็นยุทธวิธีพัฒนาเมือง โอกาส-การเปลี่ยนแปลง-การปรับตัว-การมองการไกล และ

Smart&Digital City เป็น เรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทันที “ คิดดี ทำดี อย่ารีรอ”

เมื่อตัดสินใจใช้ยุทธศาสตร์ smart&digital city จึงขอมีส่วนร่วม เสนอแนวคิด Green +Clean+ Safety นำ และชี้ชัดลงมือด้านท่องเที่ยว การค้าชายแดน อาหารท้องถิ่น เป็นยุทธวิธีสู่เป้าสำเร็จ

“ แนวคิดบางเรื่อง อาจมีลักษณะ เส้นผม บังภูเขา และไม่จำเป็นต้องคิดจากสิ่งมีอยู่เดิม แต่สามารถคิดใหม่สร้างขึ้นใหม่ได้ด้วย”

ขอกราบขอบคุณ ท่านผุู้ว่า สฤษดิ์ วิฑูลย์ คนอุบล ที่คิดและ ทำเพื่ออุบล

"คิดดี ทำดี ไม่รีรอ"

นิมิต สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี

24 กรกฎาคม 2562 04.00 น.


8columns ให้บริการเว็บไซต์ สมัยใหม่ แบบ Responsive แสดงผลได้ บนอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมระบบแก้ไขข้อมูล ที่ใช้งานง่าย แก้ไขข้อมูล ได้โดยตรง ผ่านหน้าเว็บ เห็นผลการเปลี่ยนแปลง ได้ทันที สามารถดูแลเว็บไซต์ได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์ รองรับการ ปรับแต่ง SEO ช่วยให้เว็บไซต์ ค้นเจอใน Google!