อุทยานบึงบัว หนองขอน ต้องร่วมด้วยช่วยกันทำให้ สำเร็จ


2019-05-20 06:24

จำนวนครั้งที่อ่าน : 1,090

เมื่อวาน (19 พค.) เวลา10.00.น ได้รับเชิญไปให้ตวามเห็น เรื่องการขับเคลื่อนพัฒนา อุทยานบึงบัว หนองขอนอุบล ประกอบด้วย ประธานหอการค้า นิมิต สิทธิไตรย์ ท่านอาจารย์ประสงค์ จันจำปา รองประธานหอการค้าอุบล ท่านชูศรี กตัญญุตานันท์ รองประธานหอการค้าอุบล. และคณะผู้รับผิดชอบ โครงการพัฒนาอุทยานบึงบัวอุบล คือ ท่าน อจ.อาคม มาวะลุน, ท่านวุรพล บุญชุวย , ท่านสมัย เพ็งแจ่ม , ท่านสุนทร มังคลา ผู้อาวุโสผู้มีความตั้งใจจริง อยากให้เกิด อุทยานบึงบัว ให้สมกับ ชื่ออุบลราชธานี เมืองแห่งดอกบัว...นี่คือแนวคิดเริ่มต้น

อุทยานบึงบัว.. คิดพัฒนามา10ปี เนื้อที่ 600ไร่ โยง 8 ตำบล ไม่คืบหน้า ถูกเชิญให้คำแนะนำ ผมว่า

.## มองไกลเกิน หัวใจอยู่ที่บัวและชุมชน

เมื่อวาน เวลา10.00.น ได้รับเชิญไปให้ตวามเห็น เรื่องการขับเคลื่อนพัฒนา อุทยานบึงบัว หนองขอนอุบล ประกอบด้วย ประธานหอการค้า นิมิต สิทธิไตรย์ ท่านอาจารย์ประสงค์ รองประธานหอการค้าอุบล ท่านชูศรี กตัญญุตานันท์ รองประธานหอการค้าอุบล. และคณะผู้รับผิดชอบ โครงการพัฒนาอุทยานบึงบัวอุบล คือ ท่าน อจ.อาคม มาวะลุน, ท่านวุรพล บุญชุวย , ท่านสมัย เพ็งแจ่ม , ท่านสุนทร มังคลา ผู้อาวุโสผู้มีความตั้งใจจริง อยากให้เกิด อุทยานบึงบัว ให้สมกับ ชื่ออุบลราชธานี เมืองแห่งดอกบัว...นี่คือแนวคิดเริ่มต้น

ประวัติความเป็นมา (ตั้งต้นเมื่อ 10ปีที่แล้ว)

ข้อมูลคัดจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อปี2557 มีว่

"............อุทยานบึงบัวอุบลราชธานีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ (84 พรรษา) เป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชาวอุบลราชธานีทุกผู้คน

โครงการดังกล่าวนี้ นายเรืองเวทย์ แสงรัตนา รองประธานมูลนิธิอุทยานบึงบัวอุบลราชธานี แจ้งว่า ผู้อาวุโส นักปราชญ์ นักวิชาการ ที่เป็นเสาหลักบ้านหลักเมืองของอุบลราชธานี ได้รวมตัวกันเพื่อเอา “บัว” คืนมาโดยการก่อสร้างอุทยานบึงบัวอุบลราชธานีเฉลิมพระเกียรติฯดังกล่าว

ทั้งนี้เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2498

“อุบลราชธานี” เป็นนามพระราชทานจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 จากการทำความดีความชอบของบรรพบุรุษชาวเมืองอุบลที่สามารถปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วที่ยึดเมืองจำปาศักดิ์เมื่อปี 2335

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือดอกบัว คำขวัญของจังหวัดอุบลราชธานีเริ่มจากวลีแรกว่า “อุบลเมืองดอกบัวงาม....”

อุทยานบึงบัวอุบลราชธานีเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งอยู่ที่บึงหนองช้าง ตำบลหนองขอน เขตอำเภอเมือง เนื้อที่ 518 ไร่ ซึ่งในบึงบัวดังกล่าวจะมีการปลูกบัวนานาพันธุ์ ตั้งแต่บัวพันธุ์พื้นเมือง บัวพันธุ์ในประเทศ บัวพันธุ์ต่างประเทศ บัวพันธุ์พระราชทาน เป็นต้น

มีวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีอุบลราชธานีรับเป็นเจ้าภาพในการปลูกบัวทั้งในน้ำและบนบก (ในกระถาง)

ในอนาคต อุทยานบึงบัวอุบลราชธานีฯ จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งขณะนี้มีสิ่งก่อสร้างสำคัญเกิดขึ้นแล้วในบริเวณนั้น ได้แก่ หอดูดาว อุทยานเทียนพรรษา โดย ในปี 2556 กรมชลประทานได้รับงบประมาณราว 53 ล้านบาท ในการขุดลอกบึงหนองช้าง

อุทยานบึงบัวอุบลราชธานีฯ นอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับบัวนานาพันธุ์ โลกจะต้องรู้จักจังหวัดอุบลราชธานีในฐานะที่เป็น “เมืองบัวโลก” (Lotus City) แล้ว

ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ ชีววิถีปลอดสารพิษ สร้างชุมชนเข้มแข็ง สังคมอยู่เย็นเป็นสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้การใช้น้ำอย่างมีคุณค่าและใช้ประโยชน์สูงสุด การเรียนรู้การปลูกป่าและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นแหล่งท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ รวมถึงศูนย์ปฏิบัติธรรม.....ฯลฯ

ข้อมูลคัดจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อปี2557

==คำถามว่า ทำไมถึงยังไม่คืบหน้า...แต่จะช่วยผลักดันอย่างไร

==

สิ่งที่ตรงกัน แนวคิดดี สถานที่ใช่ แต่ ภาคปฎิบัติขับเคลื่อน ต้อง คิดจากพื้นฐาน คือจากเรื่องบัว และ ชมชน 8 ตำบล เป็นเจ้าของ ชาวอุบล 1.8 ล้าน ต้อง.มีส่วนร่วม อยากได้ อยากให้เป็น ไม่เท่า หลักการ....ควรเป็น

ที่ควรเป็นคือบึงบัว ที่มีบัวหลากชนิด มีวิถึชีวิต ที่ไปกับบึงบัว...ส่วนอื่นๆที่คิด คือ แถม หรือมาต่อยอด.....

ร้อยบัวบานสะพรั่ง ชื่อนี้ ถูกเรียกนำใช้ เมื่อเกือบ 20ปีที่แล้ว สมัยผมเรียนปริญญาโท พัฒนาสังคม ( นิด้า) เป็นกำหนดนิยามของคำว่าบัวเมืองอุบล

บัวคือพระอก.....ร้อยยัวบานสะพรั่ง คือ แนวคิดที่เสนอ....ต้องทำให่เป็นแหล่งบัวที่ใหญ่และดีที่สุดในอิสานใต้

การคิดโครงการใหญ่ ที่ต้องลงทุนมากๆ และเป็นสิ่งที่ อยากให้เป็น อย่างที่คิด คงต้องเปลี่ยน ให้เป็นอย่างที่ควรเป็น ก็คือ เริ่มต้นที่บัว ไม่ใช่เริ่มต้นที่สิ่งปลูกสร้าง เริ่มต้นที่ระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบัว เรื่องของป่าไม้ต้นไม้ เรื่องของปลา ที่อยู่ในบึงบัว ที่จะเอื้อต่อวิถีชีวิตของคน 8 ตำบล

ในภาพที่มองเห็น มีการวางแผน ในเรื่องสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้เงินจำนวนมาก และมีโครงการ ที่คิดทำ แต่อาจจะ วางตำแหน่งห้วงเวลา และการนำเสนอกิจกรรม ที่ค่อนข้าง ที่จะทำด้วยความยุ่งยาก เนื่องจาก ทุกโครงการที่คิด ใช้เงินจำนวนมากทั้งนั้น

ผมได้เสนอ แนวคิดเรียบง่าย คือ คิดแล้วทำได้จริงทำได้เลย ก่อให้เกิด ผลกระทบ ในวิถีชีวิต ที่จะไปอยู่ในความ ชัดเจน คือ อยู่ดีกินดี มีส่วนร่วม มีความเป็นเจ้าของ ของชุมชน 8 ตำบล

สิ่งเหล่านี้ ภาครัฐเอกชน สามารถร่วมมือ ขับเคลื่อนได้ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนเรื่องการส่งเสริมอาชีพ ที่เกี่ยวกับ บัว เช่นทำนาบัว ทำสวนบัว หรือทำ ร้านอาหาร ผลิตภัณฑ์จากบัว ชุมชน 8 ตำบลต้องได้ รับผลจากการพัฒนา ทันที และต้องเข้ามามีส่วนร่วม อย่างเต็มใจ

เรื่องการขับเคลื่อน สร้างอาชีพเกี่ยวกับบัว การพัฒนาบึงบัว ในเชิงของ ถนนรอบบึง และการปล่อยพันธุ์ปลาพันธุ์กุ้ง รวมทั้งการปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น ส่วนนี้ทำได้ทันที

กำหนดคร่าวๆ ว่าจะทำการปลูกต้นไม้ ในบึงในบริเวณบึงบัว 600 ไร่ ให้ร่มรื่น ระยะเวลา 5 ปี และจะเริ่มต้น ทำต่อเนื่อง โดยจะเริ่มในวันที่ 28 กรกฎาคม อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ต้นไม้ที่ปลูก ถ้าเป็นต้นไม้โตไว สร้างความเป็นเอกลักษณ์ ของความเป็นอีสาน ก็น่าจะเป็นแหล่งที่น่าสนใจที่จะแวะเวียนมาเยือน เช่น เป็นดงดอกคูณ มีต้นไม้อีสาน รวมอยู่ในพื้นป่า อุทยานบึงบัว

การสร้างอนุสรณ์สถานของหลวงปู่มั่นนั้น ต้องตั้งเรื่องให้ถูก ไม่ใช่คิดอยากสร้างก็ไปสร้าง โดยไม่มีที่มาที่ไปชัดเจน ว่าทำไมต้องสร้าง ผมได้รับข้อมูลซึ่งน่าดีน่าชื่นใจ ว่าหลวงปู่มั่น จะได้ได้ถูกเสนอชื่อเป็นบุคคลของโลก ซึ่งในประเทศไทย มีเพียง 2 ท่านก่อนหน้า ที่ได้รับยกย่องเป็นบุคคลแห่งโลก ท่านหนึ่งก็คือ หลวงพ่อพุทธทาส

จากข้อมูลสุดท้าย ก็เชื่อมั่นว่า หลวงปู่มั่น จะได้รับเลือกเป็นบุคคลของโลก ผมว่านี่แหละ คือมูลเหตุ ของที่ชาวบนทั้งหลาย จะต้องร่วมกัน สร้างอนุสรณ์สถาน ให้กับหลวงปู่มั่น ในฐานะ คนอุบล ในฐานะ บูรพาจารย์ ที่เป็นต้นสาย วิปัสสนา ไม่มีที่ใดเหมาะสมที่จะสร้างอนุสรณ์สถาน ได้ดี เท่ากับอุบล ราชธานี บ้านเกิดของท่าน

ดังนั้นการขับเคลื่อน จึงต้องเริ่มจากพื้นฐานที่เป็นได้จริง สมเหตุสมผล สร้างแล้วมีคน สนใจศรัทธา แล้วเป็น แนวความคิด ร่วมกันของชาวอุบล

เรื่องบัว เป็นเรื่องจำเป็น ที่ต้องขับเคลื่อน ให้มีบัว ในอุบล และเลือกอนุสรณ์สถานหลวงปู่มั่น ถือเป็น ความตั้งใจ ของเราชาวอุบล ที่จะสร้าง น้อมระลึกถึงบุญคุณ ของหลวงปู่มั่น ที่เผยแผ่ศาสนา นำชื่อเสียง มาให้ชาวอุบล ที่เราทุกเราทุกคน ต่างภูมิใจ

ทั้งหมดนี้ ในฐานะ ประธานหอการค้า แต่ขอเป็นแกนภาคเอกชน อยู่ในการสร้างความเข้าใจ และขับเคลื่อน นำเสนอต่อ ภาครัฐ และนำเสนอต่อ ทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วม รายการ ทำให้สำเร็จทั้งสองเรื่อง

อุทยานบึงบัว และการสร้างอนุสรณ์สถานหลวงปู่มั่น เป็นเรื่องที่ คนอุบล ต้องมาร่วมด้วยช่วยกัน ภายใต้ การช่วยกันคิดช่วยกันทำ เป็นการมีส่วนร่วม

ชาติกำเนิดแก้ไข

พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เดิมมีชื่อว่า มั่น แก่นแก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ณ บ้านคำบง ตำบลสงยาง อำเภอโขงเจียม (ปัจจุบันคืออำเภอศรีเมืองใหม่) จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายคำด้วง แก่นแก้ว และมารดาชื่อ นางจันทร์ แก่นแก้ว

พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิปทาธรรมปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์เรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า หรือ พระอาจารย์ใหญ่แห่งวงศ์พระกรรมฐานวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน


8columns ให้บริการเว็บไซต์ สมัยใหม่ แบบ Responsive แสดงผลได้ บนอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมระบบแก้ไขข้อมูล ที่ใช้งานง่าย แก้ไขข้อมูล ได้โดยตรง ผ่านหน้าเว็บ เห็นผลการเปลี่ยนแปลง ได้ทันที สามารถดูแลเว็บไซต์ได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์ รองรับการ ปรับแต่ง SEO ช่วยให้เว็บไซต์ ค้นเจอใน Google!